Thursday, December 9, 2010

ลัทธิสังคมนิยมกับสงคราม


วลาดิเมียร์ เลนิน 1915
ลัทธิสังคมนิยมกับสงคราม
หลักการของสังคมนิยม กับ การสงคราม ในปี 1914 - 1915
ดย วี ไอ เลนิน
แปลโดย อุยยาม ศศิธร
ท่าทีชาวสังคมนิยมต่อสงคราม

ชาวสังคมนิยมได้ประณามสงครามระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เสมอมาว่าป่าเถื่อนและโหดร้าย. แต่ท่าทีต่อสงครามของเราแตกต่างกับท่าทีของนักสันตินิยมชนชั้นนายทุน (ผู้สนับสนุนและผู้เสนอให้มีสันติภาพ) และพวกอนาธิปไตยโดยรากฐาน. เราแตกต่างกับพวกแรกที่เราเข้าใจความเกี่ยวเนื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ระหว่างสงครามกับการต่อสู้ทางชนชั้นภายในประเทศ; เราเข้าใจว่าสงครามย่อมไม่อาจถูกทำลายไปได้นอกเสียจากว่าจะทำลายชนชั้นและ สร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยมขึ้นมา; และเราก็ยังแตกต่างออกไปอีกตรงที่เราถืออย่างเต็มที่ว่าสงครามกลางเมือง, กล่าวคือสงครามที่ชนชั้นถูกกดขี่กระทำต่อชนชั้นที่กดขี่, ที่ทาสกระทำต่อเจ้าทาส, ที่ทาสกสิกรกระทำต่อเจ้าที่ดิน, และที่กรรมาชีพรับจ้างกระทำต่อชนชั้นนายทุน, เป็นสงครามที่ชอบธรรม, ก้าวหน้าและจำเป็น. เราชาวลัทธิมาร์คซ์แตกต่างกับทั้งนักสันตินิยมและ ทั้งพวกอนาธิปไตยตรงที่เราคิดว่ามันมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาค้นคว้า สงครามแต่ละครั้งอย่างเป็นประวัติศาสตร์ (จากจุดยืนวัตถุนิยมวิภาษของลัทธิมาร์คซ์) ในประวัติศาสตร์เคยมีสงครามเป็นจำนวนมากซึ่งแม้ว่าจะเต็มไปด้วยภัยพิบัติ, ความทารุณโหดร้าย, ความทุกข์และความทรมานที่ย่อมจะติดตามสงครามทั้งปวงมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้, แต่ก็เป็นสงครามที่ก้าวหน้า คือเป็นทุนแก่พัฒนาการของมนุษยชาติโดยช่วยทำลายสถาบันที่ปฎิกิริยาและมีพิษ ภัยเป็นพิเศษ(ตัวอย่างเช่น ระบอบอัตตาธิปไตยหรือระบอบทาสกสิกร), ทำลายระบอบทรราชที่ป่าเถื่อนที่สุดในยุโรป(ของตุรกีและรัสเซีย). เพราะฉะนั้น, จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีลักษณะพิเศษทางประวัติศาสตร์ของสงครามเฉพาะหน้า นี้.
ประเภททางประวัติศาสตร์ของสงครามในสมัยใหม่

การปฎิวัติฝรั่งเศสได้เริ่มต้นระยะใหม่ขึ้นระยะหนึ่งในประวัติของมนุษยชาติ. นับแต่นั้นจนถึงคอมมูนปารีส, จากปี1789-1871 สงครามประเภทหนึ่งก็คือ สงครามที่มีลักษณะปลดปล่อยประชาชาติ, ที่มีลักษณะก้าวหน้าของชนชั้นนายทุน.กล่าวอีกนัยหนึ่ง, เนื้อหาหลักและความหมายทางประวัติศาสตร์ของสงครามเหล่านี้ก็คือ การโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบขุนนาง, การทำลายพื้นฐานของสถาบันเหล่านี้, การโค่นการกดขี่ของต่างชาติ. เพราะฉะนั้น, สงครามเหล่านี้จึงเป็นสงครามที่ก้าวหน้า, และระหว่างสงครามเช่นนี้ นักประชาธิปไตยที่ปฏิวัติที่จริงใจทุกคน, รวมทั้งชาวสังคมนิยมทุกคนด้วย, จึงได้เอาใจเข้าข้างความสำเร็จของประเทศนั้น(คือของชนชั้นนายทุนนั้น) เสมอมาที่ได้ช่วยโค่น, หรือทำลายรากฐานที่ร้ายกาจที่สุดของขุนนางนิยม, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการกดขี่ประชาชาติอื่น ๆ . ตัวอย่างเช่น, สงครามปฏิวัติที่ฝรั่งเศสได้กระทำ, ถึงจะมีส่วนของการปล้นสะดมและพิชิตดินแดนต่างชาติโดยชาวฝรั่งเศสอยู่ด้วย, แต่นี่ก็ไม่ได้แปรเปลี่ยนความหมายทางประวัติศาสตร์ขั้นมูลฐานของสงครามนี้ ที่ได้ทำลายและสลายระบอบขุนนางและระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์ในยุโรปเก่าที่ เต็มไปด้วยทาสกสิกรไปแม้แต่น้อย. ในสงครามฝรั่งเศส -- ปรัสเซีย, เยอรมันเคยปล้นฝรั่งเศส, แต่นี่ก็มิได้แปรเปลี่ยนความหมายทารงประวัติศาสตร์ของสงครามนี้ที่ได้ปลด ปล่อยประชาชนเยอรมันนับสิบ ๆ ล้านคนออกจากการครอบงำของระบอบขุนนางที่กำลังเสื่อมสลายและออกจาการกดขี่ของ ผู้เผด็จอำนาจ 2 คน, พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียกับนโปเลียนที่ 3.
ความแตกต่างระหว่างสงครามรุกรานกับสงครามป้องกันตัว

ระยะระหว่างปี 1789—1871 ได้ทิ้งรอยประทับที่ลึกซึ้งและความทรงจำที่ปฏิวัติไว้. ก่อนหน้าที่ระบอบขุนนาง, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการกดขี่ของต่างชาติจะถูกโค่น, การต่อสู้เพื่อระบอบสังคมนิยมของชนชั้นกรรมาชีพไม่อาจพัฒนาไปได้. เมื่อกล่าวถึงความชอบธรรมของสงคราม “ป้องกันตัว” ในส่วนที่สัมพันธ์กับสงครามในระยะเช่นนั้น ทุครั้งชาวสังคมนิยมจะหมายถึงเป้าหมายเหล่านี้นั่นเอง, เป้าหมายซึ่งรวมความได้ว่า เป็นการปฏิวัติต่อระบบรุกรานและระบบทาสรุกรานและระบอบทาสกสิกร. การใช้คำว่าสงคราม “ป้องกันตัว” ชาวสังคมนิยมหมายถึงสงคราม"ที่เป็นธรรม” ในความหมายนี้เสมอ(ดับบลิว ลิบคเนซต์ ครั้งหนึ่งก็เคยแสดงทรรศนะของเขาออกมาเช่นนี้). มีแต่ในความหมายนี้เท่านั้นที่ชาวสังคมนิยมเคยถือ,และเดี๋ยวนี้ก็ถือ,ว่า สงคราม"พิทักษ์ปิตุภูมิ”, หรือสงคราม "ป้องกันตัว”, เป็นสงครามที่ชอบธรรม, ที่ก้าวหน้าและเป็นธรรม. ตัวอย่างเช่น, ถ้าพรุ่งนี้มอรอคโคประกาศสงครามกับฝรั่งเศส, อินเดียกับอังกฤษ,เปอร์เซียร์หรือจีนกับรัสเซีย, และอื่น ๆ, สงครามเหล่านั้นย่อมจะเป็นสงครามที่เป็นธรรม, เป็นสงคราม "ป้องกันตัว”, โดยไม่ขึ้นกับว่าผู้ใดเป็นฝ่ายโจมตีก่อน; และชาวสังคมนิยมทุกคนก็จะเอาใจเข้าข้างชัยชนะของรัฐที่ถูกกดขี่, ที่เป็นเมืองขึ้น, ที่ไม่ได้รับความเสมอภาค, คัดค้านประเทศ” มหาอำนาจที่กดขี่”, ที่เป็นเจ้าทาส, ที่ปล้นสะดมผู้อื่น.

แต่ท่านลองวาดภาพเจ้าทาสผู้หนึ่งที่มีทาส 100 คน ทำสงครามกับเจ้าทาสอีกผู้หนึ่งที่มีทาส 200 คน เพื่อให้มีการจัดสรรทาส"ที่เป็นธรรม” มากขึ้น. เห็นได้ชัดว่า การนำคำว่าสงคราม"ป้องกันตัว”, หรือสงคราม"เพื่อพิทักษ์ปิตุภูมิ”, มาใช้ในกรณีเช่นนี้ย่อมจะเป็นความผิดทางประวัติศาสตร์, และในทางปฎิบัติก็มีแต่จะเป็นการหลอกลวงประชาชนธรรมดาสามัญ,หลอกลวงผู้ที่ ไร้การศึกษา,หลอกลวงตาสีตาสาโดยทาสเจ้าเล่ห์เท่านั้น. ชนชั้นนายทุนจักรพรรดินิยมปัจจุบันก็กำลังหลอกลวงประชาชนประเทศต่าง ๆ อยู่อย่างนี้เองโดยอาศัยความคิดในทาง"ชาติ” และคำว่า “พิทักษ์ปิตุภูมิ” ในสงครามปัจจุบันระหว่างพวกเจ้าทาสเพื่อปกป้องและเสริมความเข้มแข้งให้แก่ ระบอบทาส.
สงครามปัจจุบันเป็นสงครามจักรพรรดินิยม

เกือบทุกคนยอมรับว่า สงครามครั้งนี้เป็นสงครามจักรพรรดินิยม, แต่ส่วนใหญ่แล้วคำ ๆ นี้กลับถูกบิดไปหรือใช้กลับอีกฝ่ายหนึ่ง, หรือมีช่องทางเหลือไว้ให้กล่าวได้ว่า, อย่างไรก็ดี,สงครามครั้งนี้อาจมีความหมายในทางปลดปล่อยประชาชาติที่ก้าวหน้า แบบชนชั้นนายทุนก็ได้. จักรพรรดินิยมคือ ขั้นสูงสุดในพัฒนาการของทุนนิยม, ซึ่งเพิ่งบรรลุในศตวรรษที่ 20 นี้เอง.บัดนี้ทุนนิยมได้พบว่า รัฐประชาชาติแบบเก่านั้นคับเกินไปทั้ง ๆ ที่รัฐประชาชาติแบบเก่านี้ หากมิได้สถาปนาขึ้นมาแล้วก็ไม่ย่อมโค่นล้มระบอบขุนนางลงได้. ทุนนิยมได้พัฒนาการรวมศูนย์ไปจนถึงระดับที่ซินดิเคท, ทรัสต์, และสมาคมต่าง ๆ ของบรรดามหาเศรษฐีนายทุนได้เข้ายึดเอาอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ ไว้หมด, และโลกเกือบทั้งโลกก็ได้ถูกเชือดเฉือนแบ่งปันกันในหมู่เจ้าแห่งทุนไปหมด สิ้น, ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเมืองขึ้นหรือด้วยการผูกมัดประเทศอื่น ๆ ไว้ในสายใยนับพัน ๆ เส้นแห่งการขูดรีดทางการคลัง. การค้าอย่างเสรีและการแข่งขันถูกแทนที่ด้วยการต่อสู้เพื่อผูกขาด, เพื่อยึดครองดินแดนสำหรับการลงทุน, เพื่อแย่งชิงตลาดวัตถุดิบจากดินแดนเหล่านั้น, ฯลฯ.จากการเป็นผู้ปลดปล่อยประชาชาติที่ทุนนิยมต่อสู้กับระบอบขุนนางนั้น ทุนนิยมจักรพรรดินิยมได้กลายเป็นผู้กดขี่ประชาชาติรายใหญ่ที่สุด. จากที่เคยก้าวหน้า, ทุนนิยมได้แปรเปลี่ยนเป็นปฏิกิริยา; มันได้พัฒนาพลังการผลิตไปจนถึงระดับที่ว่ามนุษยชาติต้องเผชิญกับทางเลือก 2 ทาง, ไม่ไปสู่ระบอบสังคมนิยมก็ต้องทรมานอยู่กับการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธนับเป็นปี ๆ และกระทั่งสิบ ๆ ปีระหว่าง "มหาอำนาจ" ต่าง ๆ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งระบอบทุนนิยมอย่างฝืน ๆ โดยอาศัยเมืองขึ้น, การผูกขาด,อภิสิทธิ์และการกดขี่ทางประชาชาติทุกประเภท.
สงครามระหว่างเจ้าทาสรายใหญ่ที่สุดต่าง ๆ เพื่อธำรงรักษาและปกป้องระบบทาส

เพื่อที่จะอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของระบอบจักรพรรดินิยม, เราจะอ้างตัวเลขที่เที่ยงตรงแสดงให้เห็นถึงการแบ่งโลกกันในหมู่ประเทศที่ เรียกกันว่า "มหา" อำนาจ (คือทำมหาโจรกรรมสำเร็จ):
การแบ่งโลกกันในหมู่ “มหาอำนาจ” อำนาจเจ้าทาส
เมืองขึ้น เมืองแม่
1876 1914 1914 รวม
“มหา”อำนาจ ตาราง กม. ประชากร ตาราง กม. ประชากร ตาราง กม. ประชากร ตาราง กม. ประชากร
ล้าน ล้าน ล้าน ล้าน
อังกฤษ 22.5 251.9 33.5 393.5 0.3 46.5 33.8 440.0
รัสเซีย 17.0 15.9 17.4 33.2 5.4 136.2 22.8 169.4
ฝรั่งเศส 0.9 6.0 10.6 55.5 0.5 39.6 11.1 95.1
เยอรมัน - - 2.9 12.3 0.5 64.9 3.4 77.2
ญี่ปุ่น - - 0.8 19.2 0.4 53.0 0.7 72.2
สหรัฐอเมริกา - - 0.3 9.7 9.4 97.0 9.7 106.7

6"มหาอำนาจ 40.4 273.8 65.0 523.4 16.5 437.2 81.5 960.6

ประเทศเมืองขึ้นที่ไม่ได้ขึ้นกับมหาอำนาจ(แต่ขึ้นกับเบลเยี่ยม, ฮอลันดาและรัฐอื่น ๆ 9.9 45.3 9.9 45.3
ประเทศ"กึ่งเมืองขึ้น" ทั้ง 3 (ตุรกี,จีนและเปอร์เซีย) 14.5 361.2

รวม 105.9 1,367.1

รัฐและประเทศอื่น ๆ 28.0 289.9
ทั้งโลก (ไม่นับภูมิภาคแถบขั้วโลก) 133.9 1,657.0

จากนี้จะเห็นได้ว่า ประชาชาติส่วนใหญ่ซึ่งเคยต่อสู้อยู่หน้าผู้อื่นเพื่อเสรีภาพในช่วง 1789 -1871, หลังจากปี1876, บนพื้นฐานของระบอบทุนนิยมที่ได้พัฒนาอย่างสูงและที่"สุกหง่อม", ได้แปรเปลี่ยนเป็นผู้กดขี่และผู้ทำให้ประชากรและประชาชาติส่วนใหญ่ของโลกตก เป็นทาสอย่างไร. จากปี 1876-1914, “มหา” อำนาจ 6 ประเทศได้รวบพื้นที่ไว้ถึง 25 ล้านตารางกิโลเมตร, เป็นพื้นที่ 1 เท่าครึ่งของทวีปยุโรป ! 6มหาอำนาจได้ทำให้ประชากรของเมืองขึ้นต่าง ๆ กว่า 500 ล้านคน(523 ล้าน) ตกเป็นทาส. ต่อประชากรทุก ๆ 4 คนของประเทศ“มหา” อำนาจต่าง ๆ , มีประชากรของประเทศเมืองขึ้น “ของพวกเขา” อยู่ถึง 5 คน. และทุกคนก็รู้ดีว่า การล่าเมืองขึ้นอาศัยไฟและดาบ, ประชากรของประเทศเมืองขึ้นได้รับการปฎิบัติอย่างทารุณ, พวกเขาถูกขูดรีดด้วยด้วยวิธีการร้อยสีพันอย่าง (การส่งทุนออก, สัมปทานต่าง ๆ , ฯลฯ, การโกงเวลาขายสินค้าให้พวกเขา,การขึ้นต่ออำนาจของชาติ “ที่ปกครอง”, และอื่น ๆ ). ชนชั้นนายทุนอังกฤษ - ฝรั่งเศสได้หลอกลวงประชาชนว่า พวกเขากำลังทำสงครามเพื่อเสรีภาพของประชาชนต่าง ๆ และเพื่อเบลเยี่ยม;แท้จริงพวกเขากำลังทำสงครามเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา ไว้ซึ่งเมืองขึ้นที่พวกเขาได้รวบไว้มากมายจนเหลือล้น. พวกจักรพรรดินิยมเยอรมันย่อมจะปล่อยเบลเยี่ยม, ฯลฯ, เป็นอิสระทันทีถ้าอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงที่จะให้พวกเขามีส่วนร่วมในการแบ่ง ปันเมืองขึ้นของพวกตนด้วย” อย่างยุติธรรม”. ลักษณะพิเศษของสถานการณ์ปัจจุบันนี้คือ ชะตากรรมของบรรดาประเทศเมืองขึ้นกำลังถูกตัดสินโดยสงครามบนภาคพื้นยุโรป! จากจุดยืนของความเป็นธรรมและเสรีภาพของประชาชาติ(หรือสิทธิที่จะดำรงอยู่ของ ประชาชาติต่าง ๆ ) ของชนชั้นนายทุนแล้ว, เยอรมันย่อมจะถูกต้องอย่างสิ้นเชิงหากจะเทียบกับอังกฤษและฝรั่งเศส. ทั้งนี้เพราะเยอรมันได้ส่วนแบ่งปันเมืองขึ้นน้อยเกินไป, พวกศัตรูของเยอรมันกำลังกดขี่ประชาชาติต่าง ๆ อยู่จำนวนมากกว่าที่ตัวเองกำลังกดขี่อยู่อย่างไม่อาจประมาณได้, และชนชาติสลาฟที่ถูกเอ๊าสเตรีย, พันธมิตรของเยอรมันกดขี่อยู่ก็มีเสรีภาพมากกว่าพวกที่ถูกกดขี่อยู่ในรัสเซีย ของพระเจ้าซาร์, “คุกแห่งประชาชาติ” ที่แท้จริงแห่งนั้นเป็นไหน ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย. แต่เยอรมันไม่ได้ต่อสู้เพื่อการปลดปล่อย, หากเพื่อการกดขี่ประชาชาติต่าง ๆ มันไม่ใช่ธุระของชาวสังคมนิยมที่จะช่วยโจรตัวที่หนุ่มแน่นและแข็งแรงกว่า (เยอรมัน) ให้ไปปล้นพวกโจรที่แก่กว่าและที่กินจนอิ่มหมีพลีมันกว่า. ชาว สังคมนิยมจักต้องใช้ประโยขน์จากการต่อสู้ระหว่างโจรเพื่อโค่นพวกมันทั้งมวล. จะบรรลุสิ่งนี้ได้, ขั้นแรกทีเดียวชาวสังคมนิยมจะต้องบอกความจริงกับประชาชน, คือ , สงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างเจ้าทาสเพื่อปกป้องระบบทาสใน 3 ความหมาย. ประการแรกนี่เป็นสงครามที่ทำเพื่อให้ระบอบที่เอาเมืองขึ้นเป็นทาสนั้นเข้ม แข็งขึ้นด้วยการแบ่งที่ “เป็นธรรมยิ่งขึ้น” และขูดรีดประเทศเหล่านั้นอย่าง “พร้อมเพรียงกัน” ยิ่งขึ้นในภายหลัง;ประการที่สอง, สงครามครั้งนี้ทำเพื่อให้การกดขี่ประชาชาติอื่น ๆ ในหมู่ประเทศ “มหา” อำนาจเองแข็งแรงขึ้น. ทั้งนี้เพราะทั้งเอ๊าสเตรียและรัสเซียและ (ในรัสเซียมากกว่าและเลวร้ายยิ่งกว่าในเอ๊าสเตรียมาก) ต่างก็ธำรงรักษาการปกครองของพวกเขาไว้ได้ก็แต่โดยอาศัยการกดขี่เช่นนี้เท่า นั้น, และทำให้มันรุนแรงขึ้นอีกโดยอาศัยสงคราม; และประการที่สาม, เพื่อปกป้องระบอบทาสรับจ้าง, ทั้งนี้เพราะชนชั้นกรรมาชีพจะถูกทำให้แตกแยกกันและถูกกดไว้, ในขณะที่พวกนายทุนได้ประโยชน์, ,มั่งมีขึ้นมาจากสงคราม,เป็นการยุแหย่อคติทางประชาชาติและความเป็นปฏิกิริยา ให้จัดขึ้นความเป็นปฏิกิริยาที่ได้โงหัวของมันขึ้นมาในทุกประเทศแม้ต่ใน ประเทศสาธารณรัฐที่มีเสรีภาพมากที่สุด
“สงครามคือการต่อเนื่องของการเมืองด้วยวิธีการอื่น” (คือ โดยใช้ความรุนแรง)

วาทะที่ขึ้นชื่อนี้ เคลาสวิตซ์ นักเขียนปัญหาสงครามที่ลึกซึ้งที่สุดผู้หนึ่งเป็นผู้กล่าวไว้ว่า. ชาวลัทธิมาร์คซ์ได้ถืออย่างถูกต้องเสมอมาว่า หลักการนี้เป็นพื้นฐานทางทฤษฎีของทรรศนะเกี่ยวกับความสำคัญของสงครามที่แน่ นอนหนึ่ง ๆ ทุกครั้ง. มาร์คซ์และเองเกิลส์ก็ได้พิจารณาสงครามต่าง ๆ ด้วยทรรศนะเช่นนี้ตลอดมา.

ขอให้นำทรรศนะนี้มาใช้กับสงครามในปัจจุบันท่านจะเห็นว่าเป็นเวลาหลายสิบปี, กระทั่งเกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว, ที่รัฐบาลและชนชั้นปกครองของอังกฤษ, ผรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, เอ๊าสเตรีย, รัสเซีย, ได้ดำเนินนโยบายปล้นสะดมประเทศเมืองขึ้น, นโยบายกดขี่ประชาชาติอื่น,นโยบายปราบปรามการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมาชีพ. สงครามในเฉพาะหน้านี้เป็นการต่อเนื่องของการเมืองชนิดนี้ และก็เป็นได้แต่เพียงการต่อเนื่องของการเมืองชนิดนี้เท่านั้น. ตัวอย่างเช่น นโยบายของเอ๊าสเตรียและรัสเซีย, ไม่ว่าในยามสันติหรือในยามสงคราม, ต่างก็เป็นนโยบายที่ทำให้ประชาชาติต่าง ๆ ตกเป็นทาสและไม่ใช่การปลดปล่อยประชาชาติต่าง ๆ . ตรงกันข้าม, ในจีน, เปอร์เซีย, อินเดียและประเทศเมืองพึ่งอื่น ๆ , ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้กลับเป็นนโยบายที่ปลุกเร้าประชาชนนับสิบ ๆ นับร้อย ๆ ล้านคน ให้มาสนใจปัญหาชาติ, นโยบายในการปลดปล่อยพวกเขาออกจากการกดขี่ของ “มหา” อำนาจปฎิกิริยา. สงครามภายใต้เงื่อนไขประวัติศาสตร์เช่นนี้ แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังสามารถเป็นสงครามที่ก้าวหน้าแบบชนชั้นนายทุน,เป็น สงครามปลดปล่อยประชาชาติ.

หากเหลือบดูสงครามปัจจุบันจากทรรศนะที่ว่ามันเป็นการต่อเนื่องของการเมือง ของ "มหา" อำนาจ, และของชนชั้นต่าง ๆ ที่เป็นหลักภายในประเทศเหล่านั้นก็เพียงพอที่จะมองเห็นได้ในทันทีถึงความขัด ต่อประวัติศาสตร์, ความจอมปลอมและมารยาที่โจ๋งครึ่มของทรรศนะที่ว่าความคิด “พิทักษ์ปิตุภูมิ” เป็นสิ่งชอบด้วยเหตุผลได้ในสงครามปัจจุบัน.
ตัวอย่างของประเทศเบลเยี่ยม

คำแก้ตัวที่พันธมิตรสังคม--คลั่งชาติทั้งสาม(เดี๋ยวนี้สี่รวมทั้งเพลคฮานอ ฟกับพวกในรัสเซีย) ชมชอบก็คือตัวอย่างของเบลเยี่ยม. แต่ตัวอย่างนี้มีแต่จะย้อนเอาพวกเขาเอง. จักรพรรดินิยมเยอรมันได้ละเมิดความเป็นกลางของเบลเยี่ยมอย่างไร้ยางอาย. ดั่งที่รัฐคู่สงครามได้กระทำเสมอมาในที่ทุกแห่ง, โดยเหยียบย่ำสนธิสัญญาและพันธะทั้งปวงเสียถ้าจำเป็น. เราลองสมมติว่า รัฐทุกรัฐที้ปรารถนาให้มีการปฎิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ, ประกาศสงครามกับเยอรมัน, เรียกร้องให้ปลดปล่อยและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เบลเยี่ยม, ในกรณีเช่นนั้น,แน่นอน ความเห็นอกเห็นใจของชาวสังคมนิยมย่อมจะอยู่ข้างฝ่ายศัตรูของเยอรมัน. แต่ประเด็นทั้งหมดก็คือ "พันธมิตรทั้งสาม(และสี่)" ไม่ได้กำลังทำสงครามเพื่อเบลเยี่ยม; นี่เป็นที่รู้กันดียิ่ง. และมีแต่คนเจ้ามารยาเท่านั้นที่ปกปิดสิ่งนี้ไว้. อังกฤษกำลังรวบเอาเมืองขึ้นของเยอรมันและตุรกี; รัสเซียกำลังรวบกาลิเซียและรวบตุรกี, ฝรั่งเศสต้องการแคว้นอัลซาล--ลอร์เรนและกระทั่งฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์; ได้มีการทำสนธิสัญญาฉบับหนึ่งกับอิตาลีเพื่อแบ่งปันทรัพย์โจร (อัลบาเนีย, เอเชียน้อย);การต่อรองกับบัลกาเรียและรูมาเนียกำลังดำเนินอยู่ เพื่อการแบ่งปันทรัพย์โจรกันอีกเช่นเคย. ในสงครามที่กระทำโดยรัฐบาลหลายประเทศในปัจจุบันนี้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะช่วย เบลเยี่ยมโดยไม่เค้นคอเอาเอ๊าสเตรียหรือตุรกี,ฯลฯ! นี่มีอะไรเกี่ยวพันกับการ"พิทักษ์ปิตุภูมิ" หรือ ? ลักษณะพิเศษของสงครามจักรพรรดินิยม, สงครามระหว่างรัฐบาลชนชั้นนายทุนปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่ได้เสื่อมไปแล้วทางประวัติศาสตร์ที่กระทำเพื่อความประสงค์ในการกดขี่ ประชาชนอื่น ๆ ก็อยู่ที่ตรงนี้เอง. ใครก็ตามที่บอกว่าการเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้เป็นสิ่งที่ชอบธรรม, เขาผู้นี้เป็นสิ่งชอบธรรม, เขาผู้นั้นก็จะเป็นผู้ทำให้การกดขี่ประชาชาติต่าง ๆ ของจักรพรรดินิยมมีอยู่ตลอดไป. ใครก็ตามที่สนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากความยุ่งยากลำบากในปัจจุบันของรัฐบาล ต่าง ๆ มาดำเนินการต่อสู้เพื่อการปฎิวัติสังคม,เขาผู้นั้นก็จะเป็นผู้ต่อสู้เพื่อ อิสระภาพที่แท้จริงของทุกประชาชาติในความเป็นจริง, ซึ่งจะเป็นไปได้ก็มีแต่เมื่ออยู่ในระบอบสังคมนิยมเท่านั้น.
รัสเซียรบเพื่อสิ่งใด?

ในประเทศรัสเซีย, จักรพรรดินิยมทุนนิยมแบบล่าสุดได้เผยตัวของมันเองออกมาอย่างเต็มที่ในนโยบาย ของพระเจ้าซาร์ที่มีต่อเปอร์เซีย, แมนจูเรียและมองโกเลีย; แต่, โดยทั่วไป,ระบอบจักรพรรดินิยมทหารและขุนนางครอบงำรัสเซียอยู่. ไม่มีประเทศใดในโลกที่ประชากรส่วนใหญ่จะถูกกดขี่มากเท่าในรัสเซีย; ชนชาติรัสเซียใหญ่มีเพียงร้อยละ 43 ของประชากรทั้งหมด,คือน้อยกว่าครึ่ง; ส่วนชนชาติอื่น ๆ ทั้งหมดถูกถือว่าเป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิอะไรเลย. ในจำนวนประชากร 170 ล้านคนในรัสเซีย, มีราว 100 ล้านคนถูกกดขี่และปฎิเสธสิทธิ. ระบอบซาร์กำลังทำสงครามเพื่อยึดกาลิเซีย และเพื่อบดขยี้เสรีภาพของชาวยูเครนและยึดอาเมเนีย, คอนสแตนติโนเปิล, ฯลฯ, ในที่สุดระบบซาร์ถือสงครามเป็นปัจจัยที่จะหันเหความสนใจไปจากความไม่พอใจภาย ในประเทศที่กำลังทวีขึ้น และปราบปรามการเคลื่อนไหวปฎิวัติที่กำลังขยายตัวออกไป. ปัจจุบันนี้, ชนชาติรัสเซียใหญ่ทุก ๆ 2 คนในรัสเซียจะมี"คนต่างด้าว" ที่ปราศจากสิทธิอยู่ 2 ถึง 3 คน: ระบอบซาร์กำลังดิ้นรนเพื่อจะเพิ่มจำนวนประชาชาติที่ถูกรัสเซียกดขี่, เพื่อที่จะยืดอายุการกดขี่นี้ออกไป, และด้วยประการฉะนี้ก็จะเป็นการบ่อนทำลายการต่อสู้เพื่ออิสระภาพที่ชนชาติรัส เซียเองกำลังดำเนินอยู่, โดยอาศัยสงครามนี้.ความเป็นไปได้ในการกดขี่และปล้นสะดมประชาชาติอื่น ๆ ยิ่งทำให้ความชะงักงันทางเศรษฐกิจมีอยู่ต่อไป, ทั้งนี้เพราะมีอยู่บ่อยครั้งที่แหล่งที่มาของรายได้มิใช่มาจากการพัฒนาพลัง การผลิต, หากเป็นการขูดรีดแบบกึ่งขุนนางที่กระทำกับ"คนต่างด้าว"ดังนั้น, ในส่วนของรัสเซีย, การทำสงครามครั้งนี้จึงมีความจำเป็นปฎิกิริยาอย่างลึกล้ำและมีลักษณะที่คัด ค้านการปลดปล่อย, เด่นมาก.
อะไรคือลัทธิสังคม --- คลั่งชาติ

ลัทธิสังคม-คลั่งชาติคือการยึดเอาความคิด “พิทักษ์ปิตุภูมิ”ในสงครามครั้งนี้. ยิ่งกว่านั้น, โดยตรรกแล้วความคิดนี้ยังนำไปสู่การละทิ้งการต่อสู้ทางชนชั้นในระหว่าง สงคราม, การออกเสียงสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายของสงคราม, ฯลฯ.อันที่ จริง, พวกสังคม--คลั่งชาติกำลังดำเนินนโยบายของชนชั้นนายทุนที่คัดค้านชนชั้น กรรมาชีพ; ทั้งนี้เพราะในความเป็นจริงพวกเขามิได้ชูการ“พิทักษ์ปิตุภูมิ” ในแง่ของการต่อสู้กับการกดขี่ของต่างชาติ. หากชู“สิทธิ” ของ “มหา” อำนาจประเทศใดประเทศหนึ่งในอันที่จะปล้นเมืองขึ้น และกดขี่ประชาชาติอื่น ๆ .พวกสังคม -- คลั่งชาตินำคำหลอกลวงประชาชนของชนชั้นนายทุนที่ว่า ทำสงครามเพื่อปกป้องอิสรภาพและการดำรงอยู่ของประชาชาติมากล่าวซ้ำ, และด้วยประการฉะนี้พวกเขาก็ได้ไปยืนอยู่ข้างชนชั้นนายทุนมาคัดค้านชนชั้น กรรมาชีพ. ในหมู่พวกสังคม--คลั่งชาตินี้มีทั้งบรรดาผู้ที่แสดงเหตุผลสนับสนุนและสดุดี รัฐบาลและชนชั้นนายทุนของกลุ่มมหาอำนาจคู่สงครามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง,มีทั้งคน อย่างเคาทสกี้ที่โต้แย้งว่า ชาวสังคมนิยมของประเทศมหาอำนาจคู่สงครามทุกประเทศมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะ “พิทักษ์ปิตุภูมิ”. ในเมื่อในความเป็นจริงลัทธิสังคม -- คลั่งชาติได้ทำการปกป้องอภิสิทธิ์, ความได้เปรียบ, การโจรกรรมและการใช้ความรุนแรงของชนชั้นนายทุนจักรพรรดินิยมของ “ประเทศตน” (หรือของทุกประเทศ), ฉะนั้นจึงเป็นการทรยศต่อความเชื่อถือทั้งปวงในลัทธิสังคมนิยมและทรยศต่อมติ สมัชชาสังคมนิยมสากล ณ เมืองบาเซิลโดยสิ้นเชิง.
แถลงการณ์บาเซิล

แถลงการณ์ว่าด้วยสงครามซึ่งได้ทำขึ้นอย่างเป็นเอกฉันท์ในบาเซิลเมื่อปี 1912 นั้น มุ่งหมายถึงสงครามระหว่างอังกฤษกับเยอรมันและพันธมิตรของทั้งสองประเทศที่ ได้ระเบิดขึ้นในปี 1914 นี้นั่นเอง. แถลงการณ์ฉบับนั้นได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่า สงครามที่กระทำเพื่อ "ประโยชน์แห่งผลกำไรของพวกนายทุน" และ "ความทะเยอทะยานของราชวงศ์ต่าง ๆ "บนพื้นฐานของนโยบายปล้นสะดมและจักรพรรดินิยมของบรรดามหาอำนาจนั้น, จะใช้คำว่าเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนใด ๆ มาอ้างให้เป็นความชอบธรรมของสงครามเช่นนั้นไม่ได้. แถลงการณ์ได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่าสงครามเป็นภัย “ของรัฐบาลต่าง ๆ” (ทุกรัฐบาลไม่มีข้อยกเว้น), ตั้งข้อสังเกตถึงความหวาดกลัว “การปฎิวัติชนกรรมาชีพ” ของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ,และระบุอย่างแจ่มชัดยิ่งถึงแบบอย่างของคอมมูน 1871, และของเดือนตุลาคม--ธันวาคม ปี 1905, กล่าวคือ, แบบอย่างของการปฎิวัติสงครามกลางเมือง. ด้วยประการฉะนี้, แถลงการณ์บาเซิลก็ได้กำหนดยุทธวิธีของการต่อสู้ปฎวัติกับรัฐบาลของตนของ กรรมาชีพในขอบเขตสากล, ยุทธวิธีของการปฎิวัติของชนชั้นกรรมาชีพสำหรับสงครามในปัจจุบันนั่นเอง. แถลงการณ์บาเซิลยังได้ย้ำข้อความในมติที่สตุตการ์ตที่ว่า, ในกรณีที่สงครามระเบิดขึ้น, ชาวสังคมนิยมจะต้องใช้ประโยชน์จาก “วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง” ที่เกิดจากสงคราม, เพื่อ “เร่งการล่มจมของระบอบทุนนิยม”, กล่าวคือ, ใช้ประโยชน์จากความยากลำบากของรัฐบาลต่าง ๆ และจากความโกรธแค้นของมวลชนซึ่งเกิดขึ้นเพราะสงคราม, ไปทำการปฎิวัติสังคมนิยม.

นโยบายของพวกสังคม--คลั่งชาติ, การให้เหตุผลของเขาสนับสนุนสงครามครั้งนี้จากจุดยืนของการปลดแอกแบบชนชั้น นายทุน, การยอมให้ใช้คำขวัญ “พิทักษ์ปิตุภูมิ”, การลงคะแนนสนับสนุนงบประมาณสงคราม, การเข้าร่วมรัฐบาล, และอื่น ๆ ของพวกเขา, ล้วนเป็นการทรยศต่อลัทธิสังคมนิยมเต็มที่,ซึ่งจะอธิบายได้โดยเพียงชัยชนะของ พวกลัทธิฉวยโอกาสและของนโยบายของพวกแรงงานเสรีนิยมแห่งชาติในพรรคส่วนใหญ่ใน ยุโรป, ดังที่เราจะได้เห็นข้างล่างนี้.
การอ้างมาร์คซ์และเองเกิลส์อย่างผิด ๆ

พวกสังคม -- คลั่งชาติรัสเซีย (ซึ่งเพลคฮานอฟเป็นหัวหน้า) อ้างยุทธวิธีของมาร์คซ์ในสงครามปี 1870 ; พวกสังคม -- คลั่งชาติเยอรมัน (แบบเลนช์, เดวิดกับพวก) อ้างคำพูดของเองเกิลส์เมื่อปี 1891 ที่ว่า ในกรณีที่สงครามเกิดขึ้นกับรัสเซียและฝรั่งเศสรวมกัน, ย่อมเป็นหน้าที่ของชาวสังคมนิยมเยอรมันที่จะพิทักษ์ปิตุภูมิของพวกตน ; และสุดท้าย, พวกสังคม--คลั่งชาติแบบเคาทสกี้ที่ต้องการประนีนอมกับพวกลัทธิคลั่งชาติสากล และทำให้มันเป็นสิ่งชอบธรรม, พวกเขาอางอิงถึงข้อเท็จจริงที่มาร์คซ์และเองเกิลส์, ในขณะที่ประณามสงคราม, ถึงกระนั้น,ตั้งแต่ปี 1854-1855 ถึงปี 1870-1871 และปี 1876-1877, ก็เข้าข้างรัฐที่ทำสงครามไม่ฝ่ายนั้นก็ฝ่ายนี้เสมอเมื่อสงครามเกิดขึ้นแล้ว.

การอ้างอิงเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการบิดเบือนทรรศนะของมาร์คซ์และเองเกิลส์ อย่างร้ายแรงเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนและพวกลัทธิฉวยโอกาส, แบบเดียวกับข้อเขียนของพวกอนาธิปไตยกิยโยมกับพวกที่บิดเบือนทรรศนะของ มาร์คซ์และเองเกิลส์เพื่อทำให้ลัทธิอนาธิปไตยเป็นสิ่งถูกต้อง. สงครามปี1870-1871 ก่อนนโปเลียนที่ 3 ประสบความพ่ายแพ้สงครามที่กล่าวในด้านของเยอรมันแล้วในทางประวัติศาสตร์นั้น ก้าวหน้า; เพราะนโปเลียนที่ 3 ได้กดขี่เยอรมันร่วมกับพระเจ้าซาร์มานานหลายปี, ทำให้ประเทศนั้นดำรงอยู่ในภาวะที่ระบอบขุนนางสลายตัว. แต่พอสงครามพัฒนาไปเป็นการปล้นสะดมประเทศฝรั่งเศส (การผนวกแคว้นอัลซาส-ลอร์เรน), มาร์คซ์และเองเกิลส์ก็ได้เน้นประณามเยอรมัน, และแม้กระทั่งในตอนเริ่มสงครามครั้งนั้นมาร์คซ์และเองเกิลส์ก็รับรองการ ปฏิเสธของเบเบลกับลีบคเนชต์ไม่ลงคะแนนสนับสนุนงบประมาณสงครามแล้วแนะนำชาว สังคม-ประชาธิปไตยไม่ให้รวมกับชนชั้นนายทุน,แต่ให้ยึดถือผลประโยชน์ทางชน ชั้นที่เป็นอิสระของชนชั้นกรรมาชีพ. การนำเอาการประเมิณค่าสงครามที่ก้าวหน้าของชนชั้นนายทุนและที่ปลดแอกประชา ชาติมาใช้กับสงครามจักพรรดินิยมในปัจจุบันย่อมหมายถึงการเย้ยสัจธรรม. สิ่งเดียวกันนี้ก็ยิ่งเป็นจริงสำหรับสงครามปี 1854-1855, และสงครามในศตวรรษที่ 19 ทั้งหมด, ในขณะที่ยังไม่มีจักรพรรดินิยมสมัยใหม่, ไม่มีเงื่อนไขทางภววิสัยที่สุกงอมสำหรับสังคมนิยม, และไม่มีพรรคสังคมนิยมของมวลชนอยู่ในประเทศคู่สงครามไม่ว่าประเทศใด, กล่าวคือ, ไม่มีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่แถลงการณ์บาเซิลได้ใช้มาอนุมานยุทธวิธีของ"การปฎิวัติชนชั้นกรรมาชีพ" ที่เกี่ยวกับสงครามระหว่างมหาอำนาจ.

ผู้ใดก็ตามที่อ้างถึงท่าทีของมาร์คซ์ต่อสงครามต่าง ๆ ในระยะที่ชนชั้นนายทุนก้าวหน้าในวันนี้และลืมคำพูดมาร์คซ์ที่ว่า “กรรมาชีพไม่มีปิตุภูมิ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ถูกต้องในระยะที่ชนชั้นนายทุนเสื่อมและปฏิกิริยา, ในระยะของการปฏิวัติสังคมนิยมนี้โดยเฉพาะ, ก็เป็นการบิดเบือนมาร์คซ์และนำเอาทรรศนะชนชั้นนายทุนมาแทนทรรศนะสังคมนิยม อย่างไร้ยางอาย.
การล่มจมของสากลที่สอง

ชาวสังคมนิยมทั่วโลกได้ประกาศอย่างจริงจังที่บาเซิลเมื่อปี 1912 ว่าพวกเขาถือสงครามที่กำลังจะอุบัติขึ้นในยุโรปนั้นเป็นเรื่อง “อาชญากรรม” และปฏิกิริยาที่สุดของรัฐบาลทุกประเทศ มันจะต้องทำให้ระบอบทุนนิยมพังทลายเร็วโดยจะทำให้เกิดปฏิวัติขึ้นอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ สงครามมาถึง วิกฤตมาถึง แต่แทนที่จะใช้ยุทธวิธีที่ปฏิวัติ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยส่วนใหญ่กลับดำเนินยุทธวิธีปฏิกิริยา ไปเข้าข้างรัฐบาลและชนชั้นนายทุนของพวกเขาในแต่ละประเทศ การทรยศต่อลัทธิสังคมนิยมครั้งนี้หมายความถึงการล่มจมของสากลที่สอง (1889-1914) และเราก็จะต้องเข้าใจว่าอะไรทำให้ล่มจม อะไรทำให้เกิดลัทธิสังคม-คลั่งชาติขึ้น อะไรที่ทำให้มันมีพลัง

เขียนในเดือนสิงหาคม 1915

แปลโดย อุยยาม ศศิธร เดิมพิมพ์โดย ชมรมหนังสือ มิตรสาส์น (๒๕๒๓)

สำนักพิมพ์ประชาธิปไตยแรงงานขอขอบคุณผู้แปลและผู้พิมพ์ครั้งแรกในที่นี้ด้วย

http://www.marxists.org/thai/archive/lenin/1915/socialism-war/index.htm

http://www.marxists.org/glossary/people/l/e.htm#lenin

http://www.marxists.org/thai/archive/lenin/index.htm

0 comments:

Post a Comment

 
ឡើងទៅខាងលើទំព័រ ចុះទៅខាងក្រោមទំព័រ